อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลพื้นฐาน
ขนาดและที่ตั้ง
ตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสิงหนครระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอสิงหนครประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลวัดขนุน ถนนสายสงขลา – ระโนด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตำบลวัดขนุนมีเนื้อที่ ๓๓.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐,๙๕๐ ไร่

อาณาเขตติดต่อ
     ทิศเหนือ             ติดตำบลม่วงงาม
     ทิศตะวันออก    ติดอ่าวไทย
     ทิศใต้                   ติดตำบลชิงโค
     ทิศตะวันตก       ติดตำบลรำแดง

ลักษณะภูมิประเทศ
     สภาพโดยทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบบางส่วน
ลักษณะภูมิอากาศ
 ตำบลวัดขนุน มีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างอบอุ่น อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี ๒ ฤดู ประกอบด้วย
     ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤศจิกายน
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม

สภาพทั่วไป
ขนาดและที่ตั้ง
ตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสิงหนครระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอสิงหนครประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลวัดขนุน ถนนสายสงขลา – ระโนด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตำบลวัดขนุนมีเนื้อที่ ๓๓.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐,๙๕๐ ไร่

อาณาเขตติดต่อ
     ทิศเหนือ             ติดตำบลม่วงงาม
     ทิศตะวันออก    ติดอ่าวไทย
     ทิศใต้                   ติดตำบลชิงโค 
     ทิศตะวันตก       ติดตำบลรำแดง 

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบบางส่วน 
ลักษณะภูมิอากาศ
 ตำบลวัดขนุน มีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างอบอุ่น อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี ๒ ฤดู ประกอบด้วย
     ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤศจิกายน
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม

วิสัยทัศน์
“สาธารณูปโภคมีมาตรฐาน ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต รักษาสิ่งแวดล้อม
อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
พันธกิจ

1. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัวและชุมชนให้มีความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรให้มีความก้าวหน้าและสามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน  เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
3. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขึ้นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การเข้าถึงการบริการสาธารณสุข การเล่นกีฬาส่งเสริมสุขภาพ
5. พัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย
6. ส่งเสริมการศึกษา  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  การวางแผนพัฒนา  การตรวจสอบ  เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง